วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แสงธรรมชาติกับการถ่ายภาพบุคคล

portrait-simple-exercise-0

วันนี้ฉันคิดว่ามันน่าจะเป็นการสนุกที่จะได้ร่วมแบ่งปันแบบฝึกหัดเล็กๆ ที่อยู่ในอีบุ๊คที่ชื่อ Natural Light (by Michell Kanashkevich) ที่จะช่วยให้สัมผัสได้ถึงเนื้อหาในหัวข้อและฉันคิดว่ามันมีประโยชน์ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงแสงและการถ่ายภาพบุคคลได้ดียิ่งขึ้น

แบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงความแตกต่างของการถ่ายภาพโดยแสงธรรมชาติซึ่งมันจะตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงกับแสงประดิษฐ์ นั่นก็คือว่า กับแสงประดิษฐ์แล้วคุณสามารถให้แสงโดยตรงกับตัวแบบโดยการเคลื่อนย้ายแหล่งกำเนิดแสงไปรอบๆ ได้อย่างง่ายดายและยังสามารถกำหนดเปลี่ยนแปลงกำลังของแสงได้โดยตรงอีกด้วยเช่นกัน

แต่เมื่อเราต้องมาทำงานกับแสงธรมชาติแล้วนั้น เราจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับตัวเราและ/หรือตัวแบบให้สัมพันธ์กับแหล่งกำเนิดแสงแทนนั่นเอง แทนที่จะเคลื่อนย้ายแหล่งกำเนิดแสง มันเป็นตัวเรา(และตัวแบบ)ที่อาจจะจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายตำแหน่งแทน

แบบฝึกหัดนี้มันเป็นอะไรที่ง่ายๆ

แค่หาห้องที่มีหน้าต่างที่ให้แสงสว่างกระจายอย่างเพียงพอ (ไม่ใช่แสงตรงนะครับ)

ให้ตัวแบบของคุณเคลื่อนไปอยู่ยังตำแหน่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กับหน้าต่าง แล้วคุณก็เคลื่อตัวของคุณไปรอบๆ ตัวแบบ จากนั้นก็กดชัตเตอร์ คุณต้องให้ความสนใจให้มากกับผลที่เกิดขึ้นในภาพแต่ละตำแหน่งที่คุณเคลื่อนไป ว่าทิศทางของแสงนั้นสร้างภาพให้ออกมาเป็นอย่างไร

สำหรับอีบุ๊คของ Mitchell ได้ทำแบบฝึกนี้กับหลานชายของเขา ด้านล่างนี้เป็นภาพและไดอะแกรมที่สัมพันธ์กันระหว่างตำแหน่งของตัวแบบกับหน้าต่าง และด้านล่างก็มีข้อมูลที่อธิบายแต่ละภาพ, ค่า EXIF และอะไรที่ Mitchell ทำและทีผลอย่างไรกับแต่ละภาพ

 

  1. ตัวแบบหันหน้าทำมุมประมาณ 45 องศากับหน้าต่าง
    ผลที่ได้คือ ความลื่นไหลอย่างมากของโทนแสงจากส่วนสว่างไปสู่ส่วนที่เป็นเงา
    portrait-simple-exercise-1
    ค่า EXIF : 16-35mm.@35mm. f/2.8, 1/125s, ISO200
  2. ตัวแบบยืนทำมุม 90 องศาหรือขนานกับหน้าต่าง หันด้านข้างให้หน้าต่าง
    ผลที่ได้คือ ความเปรียบต่างที่สูงระหว่างแต่ละด้านของใบหน้าที่อยู่ใกล้หน้าต่างและด้านที่อยู่ไกลจากหน้าต่าง
    portrait-simple-exercise-2
    ค่า EXIF : 16-35mm.@35mm., f/2.8, 1/200s, ISO500
  3. ตัวแบบยืนทำมุม 90 องศาหรือขนานกับหน้าต่าง และหันหน้าไปที่หน้าต่าง
    ผลที่ได้คือ แสงยังคงเหมือนแบบฝึกที่ 2 แต่แทนที่ด้านหนึ่งของใบหน้าจะอยู่ในเงามืดนั้น ใบหน้าทั้งสองด้านก็สว่างเพียงพอแต่ด้านหลังหัวจะอยู่ในเงามืดแทน
    portrait-simple-exercise-3
    ค่า EXIF : 16-35mm.@35mm., f/2.8, 1/125s, ISO500

Mitchell ยังได้กล่าวเพิ่มเติมเอาไว้อีกว่า แหล่งกำเนิดแสงเช่นหน้าต่างยังช่วยให้คุณสามารถควบคุมความเข้มของแสงได้อีกด้วย การที่คุณอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงก็หมายความว่าสามารถลอความเข้มของแสงให้น้อยลงได้ และความเข้มของแสงที่น้อยลงก็หมายถึงความเปรียบต่างที่ลดลงของส่วนสว่างและส่วนของเงามืดนั่นเอง

ฉันทำแบบฝึกหัดนี้กับสมาชิกในครอบครัวและจะหลงใหลกับผลที่ได้และยังทำให้คุณจำได้ดีกับสไตล์การถ่ายภาพต่างๆ ที่คุณจะเก็บไว้เป็นทักษะติดตัว และสุดท้ายคุณก็จะสามารถเปลี่ยนการปรับตั้งต่างๆ ทั้งหมดนี้อย่างง่ายดายไปตามตำแหน่งของตัวคุณและตัวแบบของคุณได้อย่างคล่องแคล่วต่อไป

ลองไปฝึกกันนะครับ แล้วมาบอกให้เรารู้สักหน่อยนะ ว่าคุณฝึกมันแล้วได้ผลเป็นอย่างไร

ทดลองแบบฝึกอื่นๆและเรียนรู้เพิ่มเติมจาก Mitchell ในอีบุ๊ค Natural Light eBook

 

ลิ้งค์ไปอ่านต้นฉบับ : http://digital-photography-school.com/a-simple-exercise-on-working-with-natural-light-in-portraits/

 

เขียนโดย : Tombass
เขียนเมื่อ : Sat.2 May,2015 / 21:10 GMT+7 TH